อยู่ระหว่างชักชวนมิตรสหายมาใช้ Twitter



เพื่อนฝูงมิตรสหายหลายคนอาจจะได้รับข้อความชักชวนของผม ดังต่อไปนี้แล้ว :

โหลๆ สวัสดี ...
มีของเล่นใหม่ กำลังติดลมบนในเมืองนอก มาชวนให้ไปใช้ เดี๋ยวรับรองต่อไปจะฮิตประมาณ email และ Blog
นั่นคือ Twitter ซึ่งอาจเคยได้รับ invite ไปแล้ว แต่ไม่เข้าใจว่ามันทำงานอย่างไร จะสมัครไปทำไม
ก็จะอธิบายให้ฟังดังนี้ แต่นแต๊นนนน

ก่อนอื่น ขอให้นึกถึงหลักการพื้นฐานว่า คนเราย่อมอยากรู้เรื่องของคนที่เรารู้จัก แต่ไม่ได้อยากรู้อะไรมาก แค่สั้นๆ เช่น แม่ก็อยากรู้ว่าลูกชายวัยรุ่นกินข้าวยัง หรือ พ่อห่วงลูกสาวทำงานในกทม.อยากรู้แค่ว่างานหนักไหม ส่วนเพื่อนก็อยากรู้แค่ว่าไอ้หมอนั่นมันทำงานที่ไหนแล้ว ทีนี้ คนเราก็มีเรื่องเปลี่ยนแปลงสถานการณ์เยอะแยะไปหมด จะมา email บอกทีละคน โทรหาทีละราย งานการไม่ต้องทำพอดี ฉะนั้น Twitter จึงกำเนิดขึ้น

เริ่มไม่ยาก แค่เรา Login เข้าไปเวบ http://www.twitter.com แล้วสร้าง account ชื่อเราขึ้นมา จากนั้นเราก็ใส่ข้อความ update ของเราลงไป เรื่องอะไรก็ได้ (ทำอะไรอยู่/กินอะไร/อารมณ์ไหน/อยากบ่นอะไร/มีอะไรจะปล่อยข่าว) ไม่ต้องยาวมาก ให้แค่ 160 คำ (เทียบเท่าๆ กับ sms มือถือ) แล้วหลังจากนั้น เราก็เพิ่มชื่อคนที่เราติดต่อด้วย เหมือน Hi5 (แต่ไม่น่ารำคาญเท่า) ให้ระบบเช็คดูว่าเพื่อนที่อยู่ใน address ของ Gmail Yahoo Hotmail มีใครใช้ Twitter อยู่บ้างก็ยังได้

คนที่เราติดต่อด้วยเนี่ยจะมีทั้งแบบ เราติดตามข่าวเขา (following เขา) หรือเขามาติดตามเรา (เป็น follower เรา) แต่ทั้งนี้ บางคนเป็นคนดังก็อาจจะมี follower มากกว่าจะไปตามข่าวใครก็ได้ ไม่แปลก

ต่างคนใครอยากจะ update อะไรก็ทำไปเลย ถี่ห่างยังไงก็ได้ เช่น กินข้าวอะไรมา / วันนี้ไปเจอคนๆ นึงงามโคตร / ดูหนังเรื่องxxxมา เน้นเลยว่าน่าดูมาก / เปลี่ยนงานแล้วได้งานที่บ.aaa / เป็นต้น เขียนภาษาไทยได้ อ่านได้ ไม่ต้องห่วงเรื่องนี้

ส่วนการ update ก็แสนสะดวกแสนสบาย จะกระทำโดยเข้าเน็ตบนเวบ หรือว่าผ่าน sms มือถือก็ได้ (แต่เสียเงินค่าส่ง sms นะ) หรือว่าจะออนไลน์บนมือถือเข้า mobileweb ก็ได้ ทั้งนี้ ไม่จำเป็นต้อง online ตลอดเวลา login เข้าเมื่อไหร่ค่อยเห็นความเคลื่อนไหวของเพื่อนๆ ครอบครัว ญาติ ดาราคนโปรด ค่ายข่าว (บรรดาคนที่เรา following อยู่)

อนึ่ง หากเราต้องการความเป็นส่วนตัว เราจะ lock โปรไฟล์ของเราไว้ก็ได้ นั่นหมายถึงว่า ใครที่ไม่ได้รับอนุมัติจากเราให้ติดตามข่าวเรา (ไม่ได้เป็น follower ของเรา) เขาก็จะไม่มีทางเห็นได้เลยว่าเรา update อะไรไว้บ้าง

งงปะ อิอิ ลองดูละกัน http://www.twitter.com

เสรีที่จะเลือก



เราให้คุณค่ากับเสรีภาพและอิสรภาพกันอยู่เสมอ เราเห็นพ้องต้องกันโดยไร้ข้อกังขา ว่ามนุษย์พึงมีสิทธิที่จะเลือกกระทำสิ่งต่างๆ ตราบเท่าที่ไม่ละเมิดสิทธิผู้อื่น เรายินดีที่ได้เกิดและใช้ชีวิตในผืนแผ่นดินประเทศที่ให้เสรีภาพในการประกอบอาชีพและถือครองทรัพย์สิน

แต่คำถามหนึ่งซึ่งยังไม่ชัดเจนนักคือ เสรีภาพควรมีเท่าใด

หนังฮอลลีวู้ดเรื่อง Eagle Eye ตั้งคำถามต่อเรื่องดังกล่าวได้น่าสนใจ แต่แน่นอน คำตอบไม่ได้อยู่ที่หนังเรื่องนี้ แต่อยู่ที่คนดูทุกคน หรือพูดอีกนัยก็คือ ใครจะไปรู้ได้ เสรีภาพของใครจะเป็นเท่าใดจะมีใครตัดสินให้กันแทนได้

เนื้อหาของหนังซึ่งถ้ารู้ก่อนคงจะไปชมแล้วขาดอรรถรสแน่นอน เพราะว่าส่วนสำคัญที่ทำให้คนดูติดตามหนังเรื่องนี้ไปเรื่อยๆ ก็คือประเด็นปัญหาว่าใครกันหนอซึ่งเป็นคนบังคับตัวเอกทั้งสอง ช่างมีข้อมูลและสามารถเข้าถึงได้แทบจะทุกช่องทาง พอได้ทราบเฉลยแล้วบางคนก็อาจจะเชื่อ บางคนก็อาจจะยังลังเลว่าเป็นไปได้ถึงเพียงนั้นเชียวหรือ

ครับ สมัยก่อนไม่นานนัก ถ้าจะบอกว่าเอาของดิบใส่ตู้สี่เหลี่ยมที่ไร้ไฟแค่นาทีเดียวมันก็จะสุกได้ ก็คงไม่มีใครเชื่อเช่นเดียวกัน

เรื่องของเรื่องใน Eagle Eye เริ่มต้นจากการซุ่มสังหารผู้นำกลุ่มต่อต้านรัฐบาลอเมริกา (ที่ถูกเรียกว่ากลุ่มกอการร้ายนั่นล่ะ) และรัฐมนตรีกลาโหมจะต้องตัดสินใจว่าจะออกคำสั่งสังหารหรือไม่ ทั้งที่ข้อมูลที่ได้ยังไม่สามารถยืนยันได้ร้อยเปอร์เซ็นต์ แต่เขาก็สั่งการไป เพราะประธานาธิบดีป็นผู้ออกคำสั่งให้ดำเนินการ นับจากนั้นมาความโกลาหลและการก่อประทุษร้ายต่อชีวิตและทรัพย์สินชาวอเมริกันก็ดำเนินไปอย่างต่อเนื่องและรุนแรงขึ้น พร้อมกันกับภารกิจที่ไม่คาดฝันถูกส่งและสั่งการมายังหนึ่งหนุ่มวัยรุ่นผู้หนีโลกกระแสหลัก และหนึ่งสาว single parent วัยทำงานตัวเป็นเกลียวเบื้องหลังความสำเร็จของทนายค่าตัวแพง

เขาทั้งสองไม่ยินยอมพร้อมใจทำในสิ่งที่พวกเขาเลือกแน่นอน ตลอดทั้งเรื่องเราเห็นเขาพยายามหลีกเลี่ยง และแก้เงื่อนไขที่ผูกมัดบังคับให้เขาต้องทำตาม ฝ่ายชายถูกบังคับจากการไล่ล่าของอำนาจกระแสหลัก ฝ่ายหญิงถูกบังคับด้วยชีวิตของลูกชายตัวน้อย (ช่างเป็นเงื่อนไขที่สะท้อนด้านตรงข้ามของหยางและหยินอะไรเช่นนี้)

แต่สุดท้ายเราก็คงเดากันได้ ทั้งสองรอด เพราะทั้งสองได้เลือกที่จะทำตามความรู้สึกและใจของตัวเอง โดยไม่หวั่นเกรงต่อเงื่อนไขข้อบังคับของผู้ที่มองไม่เห็นอีกต่อไป แม้ว่าการละเมิดฝ่าฝืนนั้นอาจถึงแก่ชีวิตของตนและคนที่รัก แต่เขาก็ได้เลือกแล้วที่จะรักษาไว้ซึ่งสิ่งที่ยิ่งใหญ่กว่านั้น (และไม่ต้องเดาด้วยหยินหยางก็รู้ได้ว่า ...) ฝ่ายชายเลือกฝ่าฝืนเพื่อรักษาความสงบสุขของชาติ เป็นการกระทำที่พึงทำตามหน้าที่ของชายชาติทหาร (ทั้งๆ ที่ตัวเองไม่ได้เป็นทหาร และอยู่ใต้เงาของพี่ชายผู้เป็นทหารมาโดยตลอด) ฝ่ายหญิงเลือกฝ่าฝืนเพื่อความรัก ความรักที่เธอจะไม่ทำร้ายชีวิตคนๆ หนึ่งซึ่งเป็นชายที่เธอรัก

ส่วนผู้ที่มองไม่เห็นนั้นเล่า คือระบบคอมพิวเตอร์ขนาดมหึมา ผู้มีพลานุภาพมหาศาลในการเข้าถึงและสั่งการระบบอิเล็คทรอนิกส์ทั้งประเทศ เมื่อคำแนะนำของเธอ (ใช่แล้วครับ ระบบคอมพิวเตอร์ในเรื่องนี้เป็นเพศหญิงอีกแล้ว ใจร้ายมาก สังเกตไหมว่าพอหุ่นหรือระบบคอมพ์ที่เล่นบทดีประเสริฐมักเป็นเพศชาย) ถูกเพิกเฉย และเธอเห็นว่าการไม่ทำตามคำสั่งของเธอนำมาซึ่งความเสียหายมากมาย ทางที่จะรอดคือ ยึดอำนาจ ซะเลย (โฮ่ๆ) จัดการสังหารและกำจัดมนุษย์ผู้เป็นรัฐบาลเดิมออกไปให้หมด เธอมีเสรีภาพเต็มเปี่ยมที่ได้เลือกทางเส้นนี้ และเธอเชื่อว่ามันดีต่อทุกคน

ขณะเดียวกัน ความทุกข์ทรมานของตัวเอกและการบีบบังคับโดยเธอ มันก็เป็นผลมาจากการที่เธอไม่สามารถจะทำได้ตามเจตจำนงของตัวเองนั่นเอง

ผมขอสรุปง่ายๆ โดยละทิ้งประเด็นปลีกย่อยมากมายที่น่าเอามาพูดถึง ว่าประเด็นอันเป็นตัวขับเคลื่อนเรื่อง Eagle Eye หาได้มีอะไรซับซ้อนซ่อนเงื่อนเหมือนการลุ้นว่าใครหนอบังคับให้ตัวเอกวิ่งพล่าไปทั่วประเทศอเมริกา แต่ประเด็นดังว่าเป็นเพียงการได้มี "เสรีที่จะเลือก" และไม่มีทางเลือกไหนที่ไม่เกิดผลกระทบต่อคนอื่น ไม่ว่าจะเป็นตัวเอกฝ่ายชายที่เลือกใช้ชีวิตขบถ ตัวเอกฝ่ายหญิงที่เลือกใช้ชีวิตแม่แต่ผู้เดียว และเธอผู้ที่เรามองไม่เห็นผู้นั้น ตลอดจนรัฐมนตรีและผู้นำทั้งหลาย คำถามที่ทิ้งไว้ให้ใคร่ครวญหลังหนังจบก็คือ "เราควรมีเสรีแค่ไหน" อีกด้วย

นพลักษณ์กับการปฏิบัติธรรม

สำนักพิมพ์มูลนิธิโกมลคีมทองขอเชิญร่วมอบรม
นพลักษณ์กับการปฏิบัติธรรม
วันพุธที่ 19 - วันอาทิตย์ที่ 23 พฤศจิกายน 2551
ณ ชะเมาชาเล่ต์ จ.จันทบุรี


ค่าใช้จ่ายรวมที่พัก อาหาร และพาหนะ 4,200 บาท 
(จัดอาหารเช้า เที่ยง และอาหารว่างแทนอาหารมื้อเย็น)

กิจกรรมแต่ละวัน
05.00 น. ตื่นนอน
05.30 น. ชี่กง และภาวนายามเช้า นำโดยอ.สันติกโร
07.30 น. รับประทานอาหารเช้า
09.00 น. วิธีการและแบบฝึกหัดในการดำรงสติ
12.00 น. รับประทานอาหารเที่ยง
14.00 น. สัมภาษณ์ตามศูนย์ (Centers Panel )
17.30 น. รับอาหารว่าง/เครื่องดื่ม
19.00 น. ฟังธรรมบรรยาย
20.00 น. ภาวนาภาคค่ำ
21.00 น. แยกย้ายกลับที่พัก




สนใจติดต่อสำนักพิมพ์มูลนิธิโกมลคีมทอง
โทร 02-412-0744 , 02-866-1557 โทรสาร 02-848-9756
ดูรายละเอียดเพิ่มเติม www.komol.com